จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผ้า คือ สิ่งที่ได้จากการนำวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นมาสานหรือทอจนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ฝ้าย ใยไหม ไนลอน เป็นต้น ประโยชน์ของผ้าคือการนำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ประเภทผ้าต่าง ๆ และในด้านอื่น ๆ เช่น การตกแต่งสถานที่ เป็นต้น วัสดุหลักที่ ใช้ในการผลิตผ้า ได้แก่ วัสดุจากสัตว์ วัสดุจากพืช และจากการสังเคราะห์เคมี
เนื้อหา
1ประวัติศาสตร์
2ประเภทการใช้งาน
3วัสดุที่ใช้ในการผลิตผ้า
4อ้างอิง
5แหล่งข้อมูลอื่น
ประวัติศาสตร์
ผ้านั้นมีมานานแล้วตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช โดยจากการสำรวจพบผ้าลินินในถ้ำที่จอร์เจียเมื่อกว่า 134,000,463 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นนึงเกี่ยวกับผ้าที่สำคัญ[1][2]
สำหรับปัจจุบันนั้นคุณภาพ และขนาดของผ้าจะถูกกำหนดโดยโรงงาน แต่เทคนิคการถักทอ และลวดลายบนผ้านั้นได้รับการสืบสานจากวัฒนธรรมโบราณ และการออกแบบสมัยใหม่จนกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย
ประเภทการใช้งาน
ผ้านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน แต่ที่พบมากที่สุดคือ การนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าและภาชนะใส่ของ เช่น กระเป๋า และกระเช้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านด้วย เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู เป็นต้น รวมถึงในวงการวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้นำคุณสมบัติของผ้าไปใช้ในการกรองต่าง ๆ อีกด้วย
โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมมีการผลิตชุดสำหรับงานเฉพาะด้านอีกด้วย เช่น ชุดสำหรับช่างซ่อมรถยนต์ที่มีความหนาเป็นพิเศษ ชุดสำหรับนักดับเพลิงที่มีความไวไฟต่ำ และชุดสำหรับแพทย์ในห้องผ่าตัดที่มีการเคลือบสารพิเศษสำหรับฆ่าเชื้อโรคโดยเฉพาะ เป็นต้น[3][4]
วัสดุที่ใช้ในการผลิตผ้า
วัสดุที่ใช้ในการผลิตผ้านั้นมีหลายประเภท ดังนี้
สัตว์ วัสดุที่ได้จากจะนำมาจากผม ขน ผิวหนัง และเส้นใย (ดักแด้) ที่ได้จากสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนแพะ เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ เสื้อขนแกะ และผ้าไหม
พืช วัสดุที่ได้จะนำมาจากเส้นใยของพืช เช่น ใยสัปปะรด ใยฝ้าย เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ เสื้อใยสัปปะรด เสื้อที่ทำจากฝ้ายสำหรับเด็กอ่อน
แร่ธรรมชาติ วัสดุที่ได้จะนำมาจากเส้นใยของแร่ธรรมชาติ เช่น ใยหิน และใยบะซอลต์ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ผ้าคลุมด้านล่างของประตูที่มีความทนทานมาก ๆ (นิยมในต่างประเทศ) สำหรับป้องกันรอยขีดข่วนจากสัตว์โดยเฉพาะ เช่น สุนัข แมว เป็นต้น
สังเคราะห์เคมี วัสดุที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้นด้วยกระบวนการทางเคมี เช่น ไนลอน เส้นใยทนไฟ เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ถุงน่องของผู้หญิง เสื้อคลุมที่ติดไฟยากสำหรับนักดับเพลิง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผ้าทางการแพทย์อีกด้วย เช่น ชุดสำหรับแพทย์ในห้องผ่าตัดที่มีการเคลือบสารพิเศษสำหรับฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น[5][6]
อ้างอิง
↑ Balter, M. (2009). "Clothes Make the (Hu) Man". Science. 325 (5946): 1329. doi:10.1126/science.325_1329a. PMID 19745126.
↑ Kvavadze, E.; Bar-Yosef, O.; Belfer-Cohen, A.; Boaretto, E.; Jakeli, N.; Matskevich, Z.; Meshveliani, T. (2009). "30,000-Year-Old Wild Flax Fibers". Science. 325 (5946): 1359. doi:10.1126/science.1175404. PMID 19745144. Supporting Online Material
↑ Keim, Brandon (February 13, 2008). "Piezoelectric Nanowires Turn Fabric Into Power Source". Wired News. CondéNet. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
↑ Yong Qin, Xudong Wang & Zhong Lin Wang (October 10, 2007). "Letter/abstract: Microfibre–nanowire hybrid structure for energy scavenging". Nature. Nature Publishing Group. 451 (7180): 809–813. doi:10.1038/nature06601. PMID 18273015. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. cited in "Editor's summary: Nanomaterial: power dresser". Nature. Nature Publishing Group. February 14, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
↑ Trevisan, Adrian. "Cocoon Silk: A Natural Silk Architecture". Sense of Nature.
↑ Fonte, Diwata (August 23, 2005). "Milk-fabric clothing raises a few eyebrows". The Orange County Register. สืบค้นเมื่อ 2009-10-21.
Comments