มาแอบกระซิบให้ว่า ดูตามนี้
วิชากุ๊น เป็นวิชาสำคัญส่วนหนึ่งของวิชาการเย็บผ้า ไม่ว่าจะเย็บเสื้อยืดคอกลม เสื้อยืดโปโล เสื้อเชิ๊ต เสื้อช่าง เสื้อช็อป กางเกงสแล็ค ผ้ากันเปื้อน ทำให้ความเรียบร้อยของความร้อยเรียบ การกุ๊นผ้า การกุ๊น การนำผ้าหรือชิ้นผ้ามาเย็บคลุม
ขอบผ้าจะหลายชิ้นก็ได้ นำมาเย็บเข้าซองกุ้นหรืออยู่ที่การตั้งจักร เพื่อไม่ให้ริมผ้านั้นหลุดรุ่ย
ผ้าที่นำเอามากุ๊น นั้นคือ ผ้าที่จะใช้ส่วนมากนิยมตัดเป็นผ้าเฉลียง เพื่อให้ผ้ามีความยืดหยุ่นเวลาที่เย็บกับส่วนโค้งต่างๆ ผ้าจะไม่ย่น ซึ่งเมื่อพับตลบกลับไปสอย ผ้าจะกระด้างไม่สวย และงาม ทีมงาน สว.555ทำงานจนมือสั่นไม่ได้หิวข้าวครับ แต่เป็นเทคนิคในการป้อนผ้ากุ๊นไม่ให้ติดซองกุ๊น กลับบ้านคงต้องเพิ่มคนนวดมือให้แน่เลย555 เรากุ๊นสู้เพื่องานคุณภาพที่ดีครับเรียบร้อยจบข่าว!
การใช้วิชาลา จักรลา
จะถูกใช้ หลายแบบในการเย็บเสื้อยืดคอกลม คอวี โปโล หรือเสื้อยูนิฟอร์มบริษัท คือ
1.คือลาชายเสื้อแขนเสื้อ หากเพื่อนมีเสื้อก็ดูได้สังเกตคงจะเห็นว่าแขนเสื้อหรือชายเสื้อด้านใน
เย็บเป็นแบบซิกแซกๆ ไปมาสลับกันเป็นฟันปลา
2.การปรับลดจำนวนเข็มและปรับแต่งเล็กน้อยสำหรับการเย็บทับรอยโพ้งบริเวณคอเสื้อ สำหรับเสื้อยืดสำหรับการมีลาลูกโซ่บริเวณคอเสื้อ
3.บางทีก็เข้าซองกุ้นขอบผ้าต่างๆ ทำหูกางเกง ข้อดีหากทำงานต่อเนื่องจำนวนมากๆจะทำได้นานจนกว่าด้ายจะหมด
ทีมงานสว.555หากโชคดีได้นั่งจักรนี้จะเตรียมทานกาแฟ 1 แก้วก่อนป้องกันการง่วง และเมื่อยขา
เกร็งแขนเพราะจะป้อนชิ้นงานอยู่ตลอดเวลา
วิชาโพ้งหัวใจจักรโพ้ง คือสวยงาม
จักรโพ้ง ใช้เย็บกันรุ่ย เสื้อผ้า, กระเป๋า หรือชิ้นงานเย็บสำเร็จรูปแทบทุกตัว เพื่อความเรียบร้อยจะต้องใช้จักรโพ้งกันรุ่ย ตกแต่งโชว์ตะเข็บยังสามารถใช้แทนจักรเย็บได้ แบบโพ้งพร้อมเย็บจบในขั้นตอนเดียว ซึ่งเหมาะกับผ้าทั่วไปผ้ายืด ผ้าหนาผ้าบาง ผ้าสแปนเดก คอตตอน ไหม ซาติน ฯลฯ โพ้งเย็บนอกจากจะใช้โพ้งเพื่อประกอบชิ้นส่วนของเสื้อยืดให้ติดกัน ไม่ว่าจะเป็นการประกอบแขน ประกอบตัว ยังสามารถใช้ในการม้วนริมผ้าชีฟองบางๆ สำหรับตกแต่งในส่วนแขน ส่วนกระโปรงงามๆ ในงานชุดบัลเล่ต์ ชุดเจ้าหญิง หรือชุดนางฟ้าแสนสวยได้อีกมากมาย ทีมงานสว.555 ถนัดมากหากเป็นงานโพ้ง จะเป็นงานที่ทุกคนที่ทำด้วยใจรัก และแก้ปัญหาการเข้าแขนและเข้าตัวทุกงานที่ต้องการความเรียบร้อย
การตรวจสอบงานก่อนส่ง (QC)
ขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้
1.ตรวจวัดสเป็คเสื้อยืด เสื้อโปโล หรือสินค้าที่เตรียมจัดส่ง ให้ถูกต้องตามสเป็คไซส์ที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนความกว้างอกเสื้อ ความยาวของเสื้อ
2.ตรวจสอบความเรียบร้อยของปกเสื้อ สำหรับเสื้อมีปกทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเสื้อโปโล เสื้อเชิ๊ต เสื้อช่าง เสื้อช็อป ชุดหมี ชุดแม่บ้าน เสื้อสูท และอื่นๆ
3. ตรวจสอบขี้ด้ายตามรอยต่อทุกจุดว่าเสื้อยืดหรือสินค้าที่ผลิตได้ผ่านการตัดขี้ด้ายให้สะอาดเรียบร้อยหรือยัง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของชายเสื้อ ปลายแขน สาป ปก และอื่น ๆ ซึ่งในส่วนนี้จัดว่าเป็นส่วนสำคัญอีกหนึ่งจุดที่ไม่ควรพลาดในการคิวซีงานตัดเย็บเสื้อผ้าทุกประเภท หรืองานทุกประเภทที่ต้องใช้ด้ายในการเย็บ จะต้องมีการตัดขี้ด้ายเพื่อเก็บงานทุกครั้งก่อนแพ็คงานส่งลูกค้า
4. ตรวจความเรียบร้อยของรอยตัดต่อทุกจุดที่ต้องมีการโพ้งประกบชิ้นส่วนทุกชิ้นว่ารอยต่อหรือรอยประกอบดังกล่าวเข้ากันหนาแน่นดีหรือไม่ หากการโพ้งตื้นเกินไปหรือกินเข้าไปไม่ลึกพอ งานตรงรอยโพ้งอาจแตกออกจากกันได้ โดยเฉพาะหากลูกค้าเริ่มซักเพียงไม่กี่ครั้ง
5.การแปะกระเป๋าเสื้อ โดยทั่วไปเสื้อโปโลมักมีกระเป๋าแปะ 1 ใบที่อกซ้าย หรือบางแบบอาจเป็นกระเป๋าเจาะซึ่งจะมีขั้นตอนในการเย็บยากกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรตรวจแนวเย็บของกระเป๋าให้ตรงได้ฉากเพื่อความสวยงาม
6.งานปัก ควรตรวจสอบความหนาแน่น ความคมชัด ขนาด สีสัน ให้ตรงตามที่ตกลงไว้กับลูกค้า
7.งานสกรีน ก็เช่นเดียวกันกับงานปัก ควรมีความคมชัด ขนาด สีสัน ตามตกลง หรือตามที่ขึ้นตัวอย่างไว้ให้กับลูกค้า
8.การติดกระดุม ควรตรวจสอบความแน่นหนา และในส่วนของการแซ็ครังดุม ควรตรวจสอบความเรียบร้อย และตัดขี้ด้ายในส่วนนี้ด้วย
9.การแพ็คงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งงานลูกค้า ซึ่งจะต้องพับให้เรียบร้อยแล้วแพ็คใส่ถุงพลาสติกใส มัดรวมกันเป็นไซส์ๆ เพื่อความสะดวกในการตรวจรับงาน ควรแยกเป็นถุงใหญ่ ถุงละไซส์ ติดป้ายไซส์และจำนวนไว้หน้าถุง
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าดังที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนสำคัญอันขาดมิได้
คือกระบวนการการตรวจสอบตำหนิและจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะทำการส่งกลับไปแก้ไขหรือคัดทิ้ง จากนั้นจึงทำการบันทึกและเก็บสถิติของลักษณะรวมทั้งจำนวนผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จะส่งเช่นกางเกง ของลูกค้า ดูเป้า รอยเย็บ ซิป กระเป๋า ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อให้
สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด หากขาดขั้นตอนการตรวจสอบนี้ไป จะทำให้เกิดการผิดพลาด และสูญเสียโอกาสที่จะได้ลูกค้าที่กลับมาใช้บริการซ้ำอีก
Comments